แนะนำตัว
“MEKA” “เมฆา”
Cloud Coffee & Tea Machine
.
เครื่องชงกาแฟและชา รูปลักษณ์ใหม่ สไตล์โมเดิร์นบาร์
.
เครื่องชงมีทั้งแบบ 1 และ 2 หัวชง ทั้ง 2 แบบ มีให้เลือกทั้งระบบ Multi-boiler และ Heat Exchange
.
ควบคุมการให้ความร้อนด้วย PID Control System ทั้งระบบ ตั้งค่าความร้อนอย่างง่ายดาย ด้วยการป้อนตัวเลขบนหน้าจอทัชสกรีน
.
ระบบการชงแบบ Multi-Stage Extraction โดยสามารถกำหนดปริมาณน้ำที่ใช้และเวลาพักระหว่างการสกัดได้ถึง 5 รอบต่อการชงหนึ่งครั้ง ซึ่งออกแบบมานอกเหนือจากการชงกาแฟแบบปกติ ให้สามารถชงชาให้เข้มข้นได้ด้วย
.
ตั้งโปรแกรมการชงด้วยการกำหนดปริมาณน้ำไว้ล่วงหน้าได้ 4 โปรแกรมต่อหัวชง กำหนดปริมาณด้วยการป้อนค่าตัวเลขบนหน้าจอสัมผัสอย่างง่ายดาย
.
หน้าจอทัชสกรีนใช้งานง่าย แสดงสถานะอุณหภูมิ, แรงดัน, เวลาในการชงแสดงบนหน้าจอ
.
ทำแรงดันไอน้ำได้สำหรับการทำฟองนมแบบ Micro Foam และเปิดใช้ไอน้ำเพื่อทำฟองนมต่อเนื่องยาวนาน ด้วยการชดเชยความร้อนทันที
.
คันโยกวาล์วสตีม และวาล์วน้ำร้อน โยกใช้ได้รอบทุกทิศทาง 360 องศา และสามารถถอดหัวเปลี่ยนเป็นลูกเล่น ให้มีเอกลักษณ์พิเศษของแต่ละร้านได้
.
ใช้ปั๊มน้ำโรตารี่ ยี่ห้อ PROCON หนึ่งในยี่ห้อปั๊มน้ำสำหรับเครื่องชงกาแฟที่ดีที่สุดในโลก
.
IMS Precision Screen Shower นวัตกรรมการผลิต screen shower ระดับนาโนเทคโนโลยีจากอิตาลี
.
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายลองใช้งาน ได้ที่เบอร์ 0867009998
คลิปการชงกาแฟ
คลิปการสตีมนม
ทีเด็ดพิเศษ ด้วยโปรแแกรมการชงชา
การชงชาเย็นให้เข้มข้น ควรมีสเต็ปพักชา อย่างที่เคยเขียนไว้ในโพสเฟสบุ๊ค
คิดภาพตามค่ะ หากปกติทั่วไปชงชาสด ใช้เครื่องชงกาแฟชง ปล่อยน้ำไหลโจ๊กผ่านชาทีเดียว ชาที่ได้รสจะเจือจางเหมือนน้ำร้อนผ่านชา
แต่ถ้าทำเป็นสเต็ป ชงแล้วหยุดพัก สัก4-5รอบจะทำให้ชาเข้มข้นขึ้น การที่ปล่อยน้ำร้อนแช่ใบชา แล้วกดหยุดน้ำ เป็นการหมักชาหรือแช่ชาให้เกิดการพองตัวของใบชา
เคล็ดลับนี้สามารถทำได้กับเครื่องชงกาแฟทั่วไป โดยบาริสต้าต้องคอยจับเวลาและดูปริมาณน้ำที่เครื่องชงเองในแต่ละรอบเอง
แต่ถ้าต้องการรสชาติที่คงที่มากขึ้นในทุกๆแก้วที่เสิร์ฟ โดยเฉพาะการที่มีบาริสต้าทำงานหลายคน เรามีโปรแกรมการชงที่ควบคุมปริมาณและเวลา มาตอบโจทย์นี้ค่ะ
สำหรับเครื่องเอสเพรสโซ่เมฆา เราสามารถกำหนดปริมาณน้ำที่ไหลออกและเวลาหยุดพักได้อิสระ ให้ทำงานเองตามขั้นตอนอัตโนมัติ
ยกตัวอย่างในรูปเรากำหนด5สเต็ปค่ะ
โดย
สเต็ป1 น้ำร้อนไหลออก40มล. แช่ชา30วิ
สเต็ป2 น้ำร้อนไหลออก50มล. แช่ชา30วิ
สเต็ป3 น้ำร้อนไหลออก40มล. แช่ชา20วิ
สเต็ป4 น้ำร้อนไหลออก40มล. แช่ชา20วิ
สเต็ป5 น้ำร้อนไหลออก40มล. เสร็จค่ะ
จริงๆกำหนดเท่าไรก็ได้แล้วแต่สูตรที่ร้านทดลองเลยค่ะ
ระหว่างรอเครื่องสกัดชา บาริสต้าลั้นล้าได้ค่ะ ไม่ว่าจะเตรียมปรุงนมรอ เตรียมน้ำแข็ง หันไปล้างบีกเกอร์ เช็ดโต๊ะ รับลูกค้ารายใหม่ต่อค่ะ แอดมินไม่ได้โม้ค่ะ แถมสตีมนมด้วย
ทำชาด้วยเครื่องนี้ชีวิตบาริสต้าดีขึ้นเยอะ ไม่ต้องคอยมากดๆหยุดๆเครื่องไปไหนไม่ได้ค่ะ
Specification
2 Head Groups – Heat Exchange Machine
Voltage / Power: Quantity of boiler: Boiler Capability: Desktop-part area: Undercounter-part Dimension: Cut-out area on the counter top: |
220V / 3000W 1 11L 920 x 420 mm 855 x 355 x 453 mm 860 x 360 mm |
1 Head Groups – Heat Exchange Machine
Voltage / Power: Quantity of boiler: Boiler Capability: Desktop-part area: Undercounter-part Dimension: Cut-out area on the counter top: |
220V / 2000W 1 4.5L 700 x 420 mm 635 x 355 x 453 mm 640 x 360 mm |
2 Head Groups – Multiboilers Machine
Voltage / Power: Quantity of boiler: Boiler Capability: Desktop-part area: Undercounter-part Dimension: Cut-out area on the counter top: |
220V/ 380V/ 6000W 4 11.7L (7.2, 1.5 x 3) 920 x 420 mm 855 x 355 x 453 mm 860 x 360 mm |
ภาพขนาดเครื่อง
เครื่องระบบ Heat Exchange และ Multiboiler ต่างกันอย่างไร
แบบ Heat Exchange ใช้หม้อต้มใหญ่หม้อเดียว มีระบบแลกเปลี่ยนความร้อน นำความร้อนไปใช้ที่ส่วนต่างๆ ทำให้เครื่องสองหัวจะใช้ได้อุณห
แบบ Multiboiler จะมีหม้อต้ม 4 หม้อ ควบคุมความร้อนแยกกันอิสระ
ข้อดีคือกำหนดอุณหภูมิได้ทุกหม้
แล้วควรแนะนำแบบไหน
เนื่องจากความต้องการของแต่ละคน ไม่เหมือนกัน ถ้าคุณลูกค้าต้องระบบที่ไม่ซับซ้อน และประหยัดพลังงาน ต้องการความคล่องตัวในการต่อกับระบบไฟฟ้า เสียบกับปลั๊กไฟฟ้าตามบ้านทั่วๆไป ก็จะเหมาะกับเครื่อง Heat Exchange ครับ
ส่วนระบบ Multiboiler ก็จะเหมาะกับคนที่ชอบทดลอง และต้องการใช้งานต่างอุณหภูมิกันในแต่ละหัวชงครับ ด้านการติดตั้งก็จะเหมือนเครื่องชงมัลติบอยเลอร์ทั่วไป เนื่องจากให้กระแสไฟฟ้าสูงขึ้น จึงต้องใช้กับสายไฟขนาดใหญ่ขึ้นกว่าสายบ้านทั่วไป ควรเป็นสายไฟขนาด 4 ตร.มม.เป็นอย่างน้อย ต่อตรงจากเซอร์กิตเบรคเกอร์เลย หรือใช้ร่วมกับปลั๊กไฟพาวเวอร์ และมีชุดจ่ายไฟฟ้าที่รองรับกระแสไฟฟ้าขนาด 30 แอมป์ขึ้นไปครับ
Installation การติดตั้งเครื่อง
ภาพตัวอย่างการติดตั้ง
การเตรียมเคาท์เตอร์
– ความสูงประมาณ 85-90 ซม. (หรือตามความเหมาะสมทางสรีระของผู้ใช้งาน)
– เจาะช่องเคาท์เตอร์ ขนาด 86 x 36 ซม สำหรับเครื่อง 2 หัวชง
– เจาะช่องเคาท์เตอร์ ขนาด 64 x 36 ซม สำหรับเครื่อง 1 หัวชง
ระบบน้ำ
1) น้ำกรองสะอาดสำหรับชงกาแฟ (ระบบกรองที่ควบคุมแร่ธาตุไม่ให้เกิดตะกรันง่าย)
* หรือ ลองพิจารณาการกรองน้ำระบบ RO นะครับ จะได้ประโยชน์ทั้งน้ำสะอาด และระบบนี้จะมีถังแรงดันเก็บน้ำ จะช่วยลดปัญหาน้ำขาดช่วงเข้าเครื่
2) น้ำดีสำหรับต่อที่ล้างพิชเชอร์
3) ท่อน้ำทิ้ง หรือใช้ถังน้ำทิ้งแทนได้
* ตำแหน่งท่อน้ำประปา และท่อน้ำทิ้ง ควรอยู่ในตำแหน่งที่เครื่องไม่บังนะครับ เพื่อความสะดวกในการถอดเข้าออกครับ
ระบบไฟฟ้า
1) ระบบHeat Exchange 2 หัวชง และ 1 หัวชง
ใช้กำลังไฟฟ้า 3000 และ 2000 วัตต์ ตามลำดับ
กินกระแสไฟฟ้าสูงสุดประมาณ 14 และ 9 แอมป์
สามารถเสียบปลั๊กไฟบ้านทั่วไปที่ใช้ขนาด 2.5 ตร.มมได้ และตรวจเช็คเต้าปลั๊กเสียบไม่ให้
หากจะมีการเดินสายไฟใหม่พอดี แนะนำให้ใช้สายไฟขนาด 4 ตร.มม.ขึ้นไปครับ
2) ระบบแยกหลายหม้อต้ม 2 หัวชง
ใช้กำลังไฟฟ้า 6000 วัตต์
กินกระแสไฟฟ้าสูงสุดประมาณ 28 แอมป์ โดยเฉพาะช่วงเวลาเริ่มต้นเปิดเครื่อง ซึ่งจะทำความร้อนพร้อมกันทุกหม้อ
ใช้สายไฟขนาด 6 ตร.มม. ขึ้นไป
ต่อตรงจากจุดจ่ายกระแสไฟฟ้า ที่รองรับ 30 หรือ 32 แอมป์ ต่อตรงจากเซอร์กิตเบรคเกอร์เลย หรือใช้ร่วมกับปลั๊กไฟพาวเวอร์ขนาดร
* ตำแหน่งปลั๊กไฟ ไม่ควรอยู่ที่พื้น หรือใต้เครื่องนะครับ เพื่อความปลอดภัยจากการเปียกน้ำครับ ควรอยู่ที่ผนังครับสูงจากพื้น สัก 1 ฟุตขึ้นไป และอยู่ในตำแหน่งที่เครื่องไม่บังครับ เพื่อความสะดวกในการถอดปลั๊กเข้าออกครับ